หูฟัง

"ประเภทของหุฟัง ( Headphone ) "
           เนื่องด้วยปัจจุบันมีหูฟังหลากหลายรูปแบบ ซึ่งก็จะเหมาะกับรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันไป บางคนอาจสงสัยว่าจะเลือกหูฟังยังไง ใช้แบบไหนดี และอย่างไรที่เหมาะกับตัวเราที่สุด ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน และเข้าใจในภาพกว้างๆ วันนี้ จะมาสรุปให้หังว่าหูฟังแต่ละประเภท มีอะไรบ้าง ตลอดความเหมาะสมในการเลือกใช้งานของหูฟังว่าแบบไหนที่ตรงใจกับการใช้งานของเรามากที่สุดครับ
เริ่มด้วยประเภทแรก คือ
1 . Fullsize  Headphone ( Circumaural )
          สำหรับหูฟังแบบ Full-size จะเป็นหูฟังที่มีขนาดใหญ่ ประเภทครอบเต็มหรือคาดบนศีรษะ โดยอาจจะเป็นหูฟังที่มีลักษณะแบบครอบทั้งใบหู หรือแนบบนใบหูก็เป็นได้ ลักษณะเด่นจะมีลำโพงขนาดค่อนข้างใหญ่ พอที่จะครอบหูทับเราได้ซึ่งช่วยให้เสียงที่ได้มีบรรยากาศ มีมิติที่ดี สมจริงใกล้เคียงลำโพงเครื่องเสียงภายในบ้าน โดยปกติหูฟังแบบ Full-Size จะเหมาะสำหรับการใช้งานแบบส่วนตัวและอยู่กับที่ ไม่เหมาะสำหรับการพกพา เพราะข้อจำกัดของหูฟังขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ และมีน้ำหนักมาก ยกเว้นหูฟังที่ต้องใช้งานประเภท Monitor ทั้งหลาย แต่ก็ยังเป็นการพกพาในสถานที่จำกัดเท่านั้น 
โดยปรกติ หูฟังแบบ Fullsize ยังสามารถแบ่งแยกย่อยไปได้อีกดังนี้

หูฟัง Fullsize แบบเปิด ( Open Type)
          หูฟัง Fullsize แบบเปิด นิยมใช้ในหูฟังแบบ HiFi ทั่วไป โดยเสียงจะสามารถผ่านออกทางด้านข้างของตัวหูฟังได้ ข้อดีคือ สามารถฟังได้นานไม่อึดอัดเท่ากับหูฟังแบบปิด เหมาะสำหรับฟังเพลงทั่วๆไป ไม่เหมาะใช้งานใน Studio เท่า เพราะจะได้ยินเสียงจากสภาพแวดล้อมภายนอกเล็ดลอดเข้ามา ทำให้เหมาะกับการใช้งานภายในที่พักอาศัย ไม่เหมาะกับงานใน Studio ตัวอย่างหูฟังลักษณะนี้ได้แก่ PS1000 หูฟังรุ่นท็อปจาก Grado ครับ
ลักษณะหูฟัง Fullsize แบบปิด ด้านข้างของหูฟังจะถูกชีลเอาไว้เพื่อป้องกันเสียงภายนอกลอดเข้ามาโดยเฉพาะ รวมไปถึงเสียงจากหูฟังก็ไม่สามารถดังลอดผ่านออกไปได้เช่นกัน ซึ่งหูฟังแบบนี้เหมาะสำหรับงานมอนิเตอร์ Studio และงานคอนเสิร์ต โดยเฉพาะบรรดา DJ ทั้งหลาย เนื่องจากป้องกันเสียงรอบข้างรบกวนได้ดีเยี่ยม และปัจจุบันก็เริ่มมีหูฟังเพื่อความบันเทิงทั่วๆไปหลายรุ่นที่เป็นแบบปิดมากขึ้น ตัวอย่างหูฟังแบบปิดได้แก่ DJX-1 หูฟังรุ่นดีเจ จากแบรนด์ Beyerdynamic ครับ
          หูฟัง Fullsize แบบกึ่งเปิด-ปิด ส่วนใหญ่มักจะใช้ในงานสตูดิโอ ซาวด์เอนจิเนียร์ (แต่อาจไม่เหมาะสำหรับดีเจหรืองานคอนเสิร์ต) เพราะเสียงสามารถเล็ดลอกเข้า-ออกอยู่ได้บ้าง หรือจะเอาไว้ฟังในที่พักอาศัยก็สามารถทำได้เช่นกัน ตัวอย่างหูฟังแบบกึ่งคือ DT880 หูฟังรุ่นสำหรับงานสตูดิโอ จาก Beyerdynamic ครับ          แบบ Open ก็จะเป็นแบบวัสดุที่มีช่องเปิดให้เสียง เข้า-ออก ได้ นิยมในหูฟัง Hi-Fi พราะสวมใส่สบายต่อเนื่องได้ยาวนาน มีช่องสำหรับลม-เข้าออก มักจะขับเสียงบางย่านได้ดี เช่น เสียงเบส ซึ่งมักจะเป็นหูฟังที่มีความไพเราะ และ color ครับ จึงเหมาะสำหรับการใส่ฟังเพลงทั่วไปในบ้านและสุดท้ายคือ Semi Open จะกึ่งกลางระหว่าง 2 แบบข้างต้น ไม่เหมาะสำหรับงานสตูดิโออัดเสียงร้องเพราะ มีผลิตทั้งแบบ Professional Use (ใช้ในงานสตูฯ Mix เสียง) และแบบ Home Use (ใช้ทั่วๆไป) แล้วแต่ผู้ผลิตออกแบบมาครับด้วยจุดเด่นของการที่หูฟังมีขนาดเล็กและพกพาสะดวก จึงมีการคิดค้นดีไซน์หูฟังแบบ Semi-Full Sized ออกมาหลายรูปแบบ และการแบ่งแยกหูฟังในส่วนนี้ จะแยกตามรูปแบบการ design ของหูฟังเป็นหลักครับ โดยส่วนใหญ่จะแยกออกเป็นดังนี้

Street Style / Earpad Headphone ( On The Ear )  Street Style / Earpad Headphone ( On The Ear )  Street Style / Earpad Headphone ( On The Ear )  Street Style / Earpad Headphone ( On The Ear )           โดยปรกติแล้ว หูฟังประเภท Street Style กับ Earpad Headphone จะถูกแบ่งแยกออกจากกันโดยเด็ดขาด เพราะลักษณะที่แท้จริงของ Street Style คือ ต้องเป็นหูฟังที่มีก้านเชื่อมหูฟังทั้งสองข้างอ้อมไปทางด้านหลังหัว หรือที่เรียกกันว่า “ Neckband ” ในขณะที่ตัว Earpad Headphone จะเป็นก้านแบบคาดหัวที่เรียกกันว่า “ Headband ” แต่ปัจจุบัน ผู้ผลิตเริ่มนำมาใช้เรียกรวมๆกันว่าเป็น Street Style ทั้งหมด
หูฟังแบบ Street Style เหมาะกับการพกพา โดยเฉพาะงานประเภท Outdoor หรือการออกกำลังกาย เพราะหูฟังจะล๊อคติดกับหูเราได้แน่นสนิท โดยเฉพาะเวลาที่ออกกำลังกายเบาๆอย่างเช่น จ๊อคกิ้ง , ขี่จักรยาน และอื่นๆ ซึ่งตัวหูฟังจะไม่หลุดง่าย เหมือนกับหูฟังประเภทอื่นๆ หูฟังแบบ Street Style แท้ๆ ส่วนใหญ่จะมีก้านล๊อคตรงใบหูเพื่อช่วยล๊อคลำโพงให้แนบสนิทกับใบหูมากยิ่งขึ้น ซึ่งต่างจากหูฟังประเภท Earpad Headphone ที่เน้นการใช้งานในลักษณะที่นุ่มนวลกว่าและมีการเคลื่อนไหวน้อยกว่านั้น เหมาะจะใช้เวลาเดินทางไปไหนมาไหนแบบสบายๆ เช่น ขึ้นรถไฟฟ้า , นั่งรถเมล์ หรือเดินบนท้องถนนทั่วๆไป เนื่องจากจุดอ่อนของการคาดหัวแบบ “ Headband ” และไม่มีการล๊อคเข้าที่ก้านหว่างหูนั่นเอง
หูฟังแบบ Street Style เหมาะกับการพกพา โดยเฉพาะงานประเภท Outdoor หรือการออกกำลังกาย เพราะหูฟังจะล๊อคติดกับหูเราได้แน่นสนิท โดยเฉพาะเวลาที่ออกกำลังกายเบาๆอย่างเช่น จ๊อคกิ้ง , ขี่จักรยาน และอื่นๆ ซึ่งตัวหูฟังจะไม่หลุดง่าย เหมือนกับหูฟังประเภทอื่นๆ หูฟังแบบ Street Style แท้ๆ ส่วนใหญ่จะมีก้านล๊อคตรงใบหูเพื่อช่วยล๊อคลำโพงให้แนบสนิทกับใบหูมากยิ่งขึ้น ซึ่งต่างจากหูฟังประเภท Earpad Headphone ที่เน้นการใช้งานในลักษณะที่นุ่มนวลกว่าและมีการเคลื่อนไหวน้อยกว่านั้น เหมาะจะใช้เวลาเดินทางไปไหนมาไหนแบบสบายๆ เช่น ขึ้นรถไฟฟ้า , นั่งรถเมล์ หรือเดินบนท้องถนนทั่วๆไป เนื่องจากจุดอ่อนของการคาดหัวแบบ “ Headband ” และไม่มีการล๊อคเข้าที่ก้านหว่างหูนั่นเองหูฟังแบบ Street Style เหมาะกับการพกพา โดยเฉพาะงานประเภท Outdoor หรือการออกกำลังกาย เพราะหูฟังจะล๊อคติดกับหูเราได้แน่นสนิท โดยเฉพาะเวลาที่ออกกำลังกายเบาๆอย่างเช่น จ๊อคกิ้ง , ขี่จักรยาน และอื่นๆ ซึ่งตัวหูฟังจะไม่หลุดง่าย เหมือนกับหูฟังประเภทอื่นๆ หูฟังแบบ Street Style แท้ๆ ส่วนใหญ่จะมีก้านล๊อคตรงใบหูเพื่อช่วยล๊อคลำโพงให้แนบสนิทกับใบหูมากยิ่งขึ้น ซึ่งต่างจากหูฟังประเภท Earpad Headphone ที่เน้นการใช้งานในลักษณะที่นุ่มนวลกว่าและมีการเคลื่อนไหวน้อยกว่านั้น เหมาะจะใช้เวลาเดินทางไปไหนมาไหนแบบสบายๆ เช่น ขึ้นรถไฟฟ้า , นั่งรถเมล์ หรือเดินบนท้องถนนทั่วๆไป เนื่องจากจุดอ่อนของการคาดหัวแบบ “ Headband ” และไม่มีการล๊อคเข้าที่ก้านหว่างหูนั่นเองหูฟังแบบ Street Style เหมาะกับการพกพา โดยเฉพาะงานประเภท Outdoor หรือการออกกำลังกาย เพราะหูฟังจะล๊อคติดกับหูเราได้แน่นสนิท โดยเฉพาะเวลาที่ออกกำลังกายเบาๆอย่างเช่น จ๊อคกิ้ง , ขี่จักรยาน และอื่นๆ ซึ่งตัวหูฟังจะไม่หลุดง่าย เหมือนกับหูฟังประเภทอื่นๆ หูฟังแบบ Street Style แท้ๆ ส่วนใหญ่จะมีก้านล๊อคตรงใบหูเพื่อช่วยล๊อคลำโพงให้แนบสนิทกับใบหูมากยิ่งขึ้น ซึ่งต่างจากหูฟังประเภท Earpad Headphone ที่เน้นการใช้งานในลักษณะที่นุ่มนวลกว่าและมีการเคลื่อนไหวน้อยกว่านั้น เหมาะจะใช้เวลาเดินทางไปไหนมาไหนแบบสบายๆ เช่น ขึ้นรถไฟฟ้า , นั่งรถเมล์ หรือเดินบนท้องถนนทั่วๆไป เนื่องจากจุดอ่อนของการคาดหัวแบบ “ Headband ” และไม่มีการล๊อคเข้าที่ก้านหว่างหูนั่นเองหูฟังแบบ Street Style เหมาะกับการพกพา โดยเฉพาะงานประเภท Outdoor หรือการออกกำลังกาย เพราะหูฟังจะล๊อคติดกับหูเราได้แน่นสนิท โดยเฉพาะเวลาที่ออกกำลังกายเบาๆอย่างเช่น จ๊อคกิ้ง , ขี่จักรยาน และอื่นๆ ซึ่งตัวหูฟังจะไม่หลุดง่าย เหมือนกับหูฟังประเภทอื่นๆ หูฟังแบบ Street Style แท้ๆ ส่วนใหญ่จะมีก้านล๊อคตรงใบหูเพื่อช่วยล๊อคลำโพงให้แนบสนิทกับใบหูมากยิ่งขึ้น ซึ่งต่างจากหูฟังประเภท Earpad Headphone ที่เน้นการใช้งานในลักษณะที่นุ่มนวลกว่าและมีการเคลื่อนไหวน้อยกว่านั้น เหมาะจะใช้เวลาเดินทางไปไหนมาไหนแบบสบายๆ เช่น ขึ้นรถไฟฟ้า , นั่งรถเมล์ หรือเดินบนท้องถนนทั่วๆไป เนื่องจากจุดอ่อนของการคาดหัวแบบ “ Headband ” และไม่มีการล๊อคเข้าที่ก้านหว่างหูนั่นเอง          หูฟังแบบ Clip-On/ Clip-Ear หรือที่ทั่วไปเรียกว่า Ear Clip จะมีลักษณะเด่นคือมีส่วนก้านล๊อคเข้าที่ก้านหูคล้ายๆกับของ Street Style เพียงแต่จะไม่มี Neckband อ้อมไปด้านหลังคอ เพราะต้องการให้ใส่แล้วรู้สึกเบาสบายไม่เกะกะ โดยส่วนใหญ่หูฟังประเภทนี้จะค่อนข้างล๊อคติดแนบแน่นกับหูเราพอสมควร ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับพกพานอกสถานที่และใช้ในการออกกำลังกายทั่วไป ข้อดีอีกอย่าง คือมันพกพาง่ายกว่าพวก Street Style หรือ Earpad Headphone เพราะไม่มีก้านที่ต้องพับให้วุ่นวาย มีเพียง Driver ซ้ายและขวาเท่านั้น ซึ่งหูฟังแบบ Ear Clip นั้นมีให้เลือกตั้งแต่ในราคาหลักร้อยบาทขึ้นไป และพกพาสะดวกกว่า จึงมีความนิยมในระดับนึงทีเดียว ตัวอย่างหูฟังประเภท Ear Clip ยี่ห้อ Asaskiจริงๆแล้วของพวกนี้ก็ไม่ได้มีกฎกำหนดตายตัวว่าจะใช้อะไรแบบไหนที่ไหนยังไง เพราะผมยังเคยเห็นคนใส่ Full-Size เดินขึ้นรถเมล์ รถไฟฟ้า ซึ่งก็ดูเท่ห์ไปอีกแบบ แต่อย่างไรก็ดี ถ้าเลือกให้เหมาะกับการใช้งาน เราจะมีความสุขกับการฟังเพลงได้มากกว่าคแต่ถ้ายังไม่รู้ว่าลักษณะการใช้งานของเราเป็นแบบใหน และข้อดี-ข้อด้อย ของหูฟังแต่ละประเภทเป็นอย่างไร ก็รอดูบทความในบล๊อกถัดไปได้เลยแหล่งที่มา http://guru.sanook.com/27160/








PS1000 : Grado
หูฟัง Fullsize แบบปิด ( Close Type)


DJX-1 / Beyerdynamic
หูฟัง Fullsize แบบกึ่งเปิด-ปิด( Semi-Open Type)
DT880 / Beyerdynamic
          สรุป หูฟังประเภท Full Size มี 3 แบบ คือ แบบ Closed เป็นแบบวัสดุปิด ทำให้ไม่มีเสียงรั่ว เข้า-ออก หรือมีในปริมาณที่น้อยมากๆครับ มักจะเป็นหูฟัง monitor และ DJเมื่อสวมใส่นานๆมักจะมีอาการล้าเนื่องจากการบีบอัดของหูฟัง เหมาะสำหรับการ Mix และ อัดเสียง
2. Semi-Fullsize Headphone (Supra-aural)
          หูฟังแบบ Semi-Full Size จะเป็นหูฟังแบบ Fullsize ที่ย่อส่วนลงมา ทำให้มีขนาดเล็กกว่า Full-Size พอสมควร โดยถูกออกแบบมาเพื่อสามารถเน้นการพกพาได้โดยสะดวก ลักษณะเด่นของลำโพงรวมทั้ง Pad จะเป็นแบบแนบหูครับ ไม่ได้ครอบปิดหูเหมือนแบบ Full-Sized ข้อดีคือทำให้มีขนาดเล็กลง พกพาสะดวกขึ้น แต่มีข้อเสียคือป้องกันเสียงรอบข้างแทบจะไม่ได้เลย รวมถึงเสียงบรรยากาศที่ได้ ก็ไม่เท่ากับหูฟังแบบ Fullsize แต่จะได้ในเรื่องการพกพาที่สะดวกขึ้นมาแทนครับ
ตัวอย่าง หูฟังแบบ Semi Full size พกพาง่าย รุ่น T50P จาก Beyerdynamic 


ตัวอย่างหูฟังแบบ Street Style ยี่ห้อ SONY 
Clip-On / Clip-Ear 


          สรุป ลักษณะหูฟังแบบ Semi Full size จะเป็นหูฟังแบบแนบหูซะส่วนใหญ่ ซึ่งมีหูฟังแฟชั่นรุ่นใหม่ๆหลายรูปแบบ หลากดีไซน์ ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตจะออกแบบมาใช้งานในส่วนใหน ข้อดีคือพกพาได้ง่าย สะดวกกว่า แต่จะมีข้อจำกัดในเรื่องเสียงรบกวนภายนอกซึ่งจะมีมากกว่าแบบครอบหูนั่นเอง ส่วนการดีไซน์แต่ละแบบมีชื่อเรียกต่างๆกัน อาทิ Ear clip, Street Style ,Head band , Earpad Headphone ทั้งหมดนี้จะต่างที่วิธีการสวมใส่ และการใช้งานแต่ลักษณะลำโพงโดยส่วนใหญ่ก็เป็นแบบ Supra-aural ซึ่งเป็นลำโพงทีี่มีขนาดใหญ่กว่าแบบ in-ear และแบบ Ear bud ครับ
3. Micro-Size
          หูฟังประเภท Micro Size เป็นหูฟังที่ถูกพัฒนามาจาก Semi Full-size เพื่อให้สามารถพกพาได้ง่ายขึ้นและใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งในท้องตลาดปัจจุบันถือได้ว่าเป็นหูฟังที่มีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดและมีจำหน่ายในท้องตลาดมากที่สุดในบรรดาหูฟังทุกประเภทและมีหลากหลายยี่ห้อ ทั้งมีราคาต่ำสุดและคุณภาพต่ำสุด ไปจนถึงราคาแพงคุณภาพดีที่สุดเลยก็ว่าได้ จุดเด่นของหูฟังประเภทนี้คือ มีระยะที่ไกล้ชิดกับหูทำให้ได้ยินเสียงทุกมิติชัดเจน แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นหูฟังที่ทำให้มีคุณภาพดีได้ยากที่สุดเช่นเดียวกันเพราะข้อจำกัดของขนาด Transducer ที่เล็กมากและระยะที่ใกล้ชิดกับหูมากๆ ทำให้การออกแบบเพื่อได้มิติเสียงที่ดีโดยเฉพาะในย่านความถี่ต่ำ ทำได้ยาก ดังนั้นหูฟังที่เด่นๆจริงๆจึงมีเพียงไม่กี่ยี่ห้อและไม่กี่รุ่น 
          หูฟังแบบ Micro-Size นั้นสามารถแยกย่อยออกมาได้ 3 ประเภทหลักๆ โดยแบ่งออกเป็น Earbud , In-Ear และ Hybrid ซึ่งเป็นหูฟังที่ผสมผสานระหว่าง In-ear และ Earbud เข้าด้วยกัน ดังนั้นเรามาเริ่มกันที่หูฟังที่เป็นที่นิยมที่สุดในท้องตลาดขณะนี้ก่อนเป็น อันดับแรกคือ 
Ear Bud 
          สำหรับหูฟังแบบ Earbud นั้นถือว่าเป็นหูฟังสำหรับยุคแรกๆเลยทีเดียวและเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น เพราะ player ส่วนใหญ่ที่ขายในท้องตลาด มักจะแถมหูฟังแบบ Earbud มาพร้อมเสร็จสรรพในชุดอยู่แล้ว กระทั่งพวก Handfree ที่ใช้กับมือถือทั้งหลายก็ยังใช้หูฟังแบบ earbud เป็นตัวยืนพื้น ดังนั้นเมื่อพูดถึงหูฟังคนส่วนใหญ่ย่อมนึกถึง earbud ก่อนเป็นอันดับแรก แต่ก็อย่างไรก็ดี หูฟังแบบ Earbud นั้นถือได้ว่าเป็นหูฟังที่ออกแบบให้ดีได้ยากมากๆ เพราะข้อจำกัดในเรื่องขนาดและระยะของเสียงจาก Driver ไปยังแก้วหูนั้น มันอยู่ในระยะที่ใกล้มาก ดังนั้นหูฟังโดยทั่วๆไปที่วางขายกันอยู่โดยเฉพาะของสินค้าทั่วไปถูกๆหรือของจีนแดง มักจะให้คุณภาพเสียงที่ไม่ดีเท่าไหร่ นอกจากเรื่องคุณภาพเสียงแล้วยังรวมไปถึงคุณภาพการผลิตก็ไม่ดีเท่ากับหูฟังที่มีแบรนด์เพราะใช้งานได้ไม่เท่าไหร่ก็มักจะพังเอาง่ายๆ อาการที่เสียบ่อยๆ ก็มักจะเป็นที่สายขาดใน และหูฟังชำรุด Driver หลุดออกมาจาก Housing เป็นต้น ดังนั้นการเลือกหูฟัง Earbud ให้ได้คุณภาพที่ดี ควรเน้นที่ Brand ที่มีชื่อเสียง และค่อยทดลองฟังเสียงก่อนตัดสินใจซื้อ เพราะจะช่วยให้อัตราการเสี่ยงที่เจอหูฟังด้อยคุณภาพลดลงไปเยอะ หูฟังเด่นๆที่แนะนำคือ หูฟัง Sennheiser รุ่น MX400 ซึ่งเป็นหูฟังที่ฮิตขายดีถล่มทลายในช่วง 3 - 4 ปีที่ผ่านมา และยังคงมีจำหน่ายอยู่ สำหรับราคาก็ตกอยู่ราวๆ สองร้อยไปจนถึง ห้าร้อยบาทครับ ซึ่งจะต่างกันที่ล็อตการผลิต แพคเกจและคุณภาพของฟองน้ำครับ 





Sennheiser MX400 
          ในส่วนของ Micro-size นั้น นอกจากจะมี Earbud แล้ว ก็ยังมีอีกแบบที่กำลังเป็นกระแสที่มาแรงในขณะนี้ นั่นก็คือ IEM หรือ หูฟังแบบ In-ear นั่นเองครับ 
IN-EAR ( IEM ) 
          หูฟังแบบ IEM (In Ear Monitor) เป็นหูฟังที่เหมาะสำหรับใช้งานในยุคปัจจุบันที่สุดแล้วครับ และยังเป็นหูฟังมาแรงในขณะนี้ จนหลายค่ายต่างก็พากันผลิตหูฟังประเภทนี้กันแทนที่หูฟังแบบ Earbud ครับ ที่สำคัญ ช่วงหลังๆมาทั้งเครื่องเล่น Mp3 Player ยี่ห้อต่างๆ ก็เริ่มเปลี่ยนมาแถมเป็นหูฟังแบบ In-ear กันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งคาดว่าอีกไม่นานก็คงจะมาแทนที่ตลาด Earbud จุดเด่นของหูฟังประเภท In-ear คือจะมีจุกยางเสียบเข้าไปในรูหู โดยจะมีหลายขนาดเพื่อความเหมาะสมของสรีระของแต่ละคนคุณภาพเสียงจะให้เสียงกลางและแหลมที่มีรายละเอียดดี มีความเพี้ยนต่ำ เนื่องจากตัวลำโพงของหูฟังจะมีขนาดที่เล็กและอยู่ใกล้กับโครงสร้างของหูในส่วนที่ใช้รับเสียงมากกว่าหูฟังแบบอื่น และยังได้ชื่อว่าเป็นหูฟังที่ให้ มิติเสียงได้ดีที่สุดด้วย ทำให้การแยกแยะชิ้นดนตรีชัดเจน และเนื่องจากว่าตอนใช้งานต้องแยงลงไปในรูหูทั้งยังทำให้ช่วยบล็อกเสียงจากภายนอกไม่ให้เล็ดลอดเข้าไปรบกวนได้มากหูฟังประเภท In-ear นั้น แรกเริ่มเดิมที ถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานใน Studio , Stage และ PA เป็นหลัก เพราะความที่มันมีระบบ isolation หรือ การเก็บเสียงที่ดี เหมาะสำหรับใช้งานที่ที่อึกทึกมากๆ ดังนั้นในยุคแรกๆมันจึงได้ใช้ชื่อว่า IEM หรือ In Ear Monitor นั่นเอง เพราะส่วนใหญ่เค้าจะเอามาใช้งานด้านเสียง มากกว่าเอามาฟังเพลง เพราะสามารถป้องกันเสียงรบกวนภายนอกได้ดีมากๆนั่นเอง
หูฟังที่เด่นๆในส่วนของ In-ear ก็จะมี 
ltimate Ears - Super.fi 3 live , Super.fi 4 , Super.fi 5 pro และ Triple.fi 10 pro 
Westone - UM2 
Shure - E3C , E4C , E5C
Etymotic - ER4P, ER6i 
Creative - EP630 
Philips - SHE9700 
Sennheiser - CX300 , CX500 
Crossroad - Mylarone X3 
Soundmagic - PL11, PL12 , PL30 
SONY - MDR-EX500 , MDR-EX700 
Jays - qJAYs 
Altec-Lensing - IM716 


Shure SE530
          นอกเหนือจากหูฟังในแบบ Mass Production แล้ว ยังมีหูฟัง In-ear แบบที่ Build by order ในลักษณะที่เป็นหูฟังแบบพอเหมาะพอเจาะกับหูของเราแบบเป๊ะๆในชื่อว่า Custom In-ear ซึ่ง ตอนนี้กำลังเริ่มเป็นที่นิยมในระดับนึงเลยทีเดียว เพราะหูฟังแบบนี้จะเสียบเข้าพอดีกับหูเราและจะค่อนข้างเก็บเสียงได้ดีกว่าพวกที่ใช้ Housing แบบ Universal ที่วางขายในท้องตลาดทั่วๆไป แต่เนื่องจาก Custom In-ear มีราคาสูง ฟังได้แค่คนเดียว แถมยังขายต่อไม่ได้อีก ทำให้คนที่นิยมก็ยังอยู่กันในแค่วงแคบๆเท่านั้นครับ เห็นว่าอีกไม่นานจะมีหูฟังแบบ Custom ของคนไทย ก็หวังว่าจะออกมาไม่แพง และช่วยให้คนที่เล่นหูฟังมีทางเลือกมากขึ้นนะครับ 
ตัวอย่าง. หูฟังแบบ Custom In-ear 
4. Headset
          หูฟังแบบ Headset ในประเภทนี้จะมีลักษณะเด่นคือมีไมโครโฟนยื่นออกมาด้วย สำหรับใช้ในการสื่อสาร งานด้าน Call center และพวกนักเล่นเกมส์ออนไลน์ทั้งหลายครับ ซึ่งนอกจากจะไว้ใช้ฟังเสียงแล้วยังได้คุยสนทนาสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย ทั้งนี้หูฟังแบบ Headset นี้จะระบุไว้ชัดเจนว่า สำหรับสื่อสารเฉยๆเท่านั้นหรือเพื่อเล่นเกมส์ด้วย ซึ่ง Headset สำหรับเล่นเกมออนไลน์จะมีราคาแพงกว่านิดหน่อย แต่ก็จะแลกกับอรรถรสและความมันส์ในการเล่นเกมส์ที่มากกว่าเดิม
ตัวอย่าง หูฟังแบบ Headset 
          การเลือกซื้อหูฟังซักตัว นอกเหนือจากเรื่องเสียง Design และงบประมาณแล้ว เราก็ควรจะดูลักษณะการใช้งานด้วยครับว่า ปกติส่วนใหญ่เราใช้งานในลักษณะไหน เช่น ออกนอกบ้านบ่อยๆ ใช้ข้างนอกบ้านเป็นส่วนใหญ่ ก็ควรใช้หูฟังแบบ Semi-Fullsize หรือ Micro-Size แต่ถ้าอยู่บ้านเป็นส่วนใหญ่ และอยากได้หูฟังดีๆไว้ใช้ในบ้าน ก็น่าจะหาหูฟังแบบ Full-size ดีๆซักตัว ใส่สบายๆจะดีกว่าครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น